หลักสูตร

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสต์ดิจิทัล

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)     :     นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล)
ชื่อย่อ   (ไทย)       :     นศ.บ. (นิเทศศาสตร์ดิจิทัล)
ชื่อเต็ม (อังกฤษ)  :     Bachelor of Communication Arts (Digital Communication Arts)
ชื่อย่อ (อังกฤษ)   :     B.Com.Arts. (Digital Communication Arts)

ความเชี่ยวชาญเฉพาะของหลักสูตร

           หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสต์ดิจิทัล ในรูปแบบการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน (Work-Integrated Learning : WIL) เป็นหลักสูตรปริญญาตรีทางปฏิบัติการ มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความรอบรู้ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เน้นความรู้ สมรรถนะและทักษะด้านการปฏิบัติเชิงเทคนิคในศาสตร์วิชานิเทศศาสตร์ในยุคดิจิทัล โดยผ่านการฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อให้นักศึกษาที่สำเร็จไปมีความถึงพร้อมซึ่งการเรียนรู้จริง ทำงานจริงให้กลายเป็นบัณฑิตที่มีค่า เป็นฟันเฟืองสำคัญต่อกิจกรรมทุกมิติในสังคมและเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ปรัชญา

ผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม มุ่งเน้นทักษะและสมรรถนะปฏิบัติงานในสภาพจริงสู่นักนิเทศศาสตร์มืออาชีพ

คุณสมบัติผู้เข้ารับการศึกษา

– ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หรือระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ หรือเทียบเท่า
– มีคุณสมบัติอื่นครบถ้วนตามระเบียบหรือข้อบังคับของมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

โครงสร้างหลักสูตร
หมวดวิชาศึกษาทั่วไป 30 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาภาษาเพื่อการสื่อสาร                                                  10 หน่วยกิต
กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์                                                               6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์                                                               6 หน่วยกิต
กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี                8 หน่วยกิต

หมวดวิชาเฉพาะ 84 หน่วยกิต

กลุ่มวิชาแกน                                      30       หน่วยกิต
กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน                           94       หน่วยกิต
วิชาเนื้อหาบังคับ                                15       หน่วยกิต
วิชาเนื้อหาเลือก                                  6         หน่วยกิต
วิชาทางปฏิบัติการ                              36       หน่วยกิต
วิชาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ      7         หน่วยกิต

หมวดวิชาเลือกเสรี 6 หน่วยกิต 6 หน่วยกิต
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูต 120 หน่วยกิต 130 หน่วยกิต
กิจกรรมของสาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล
ด้านการเรียนการสอน

            จัดการเรียนการสอนกับอาจารย์ที่มีประสบการณ์ด้านนิเทศศาสตร์ดิจิทัล ฝึกภาคปฏิบัติกับสถานประกอบการจริง มีวิทยากรภูมิปัญญาท้องถิ่นมาให้ความรู้ ศึกษาดูงานในสถานประกอบการจริงทั้งในและต่างจังหวัด

ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

สืบสานและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีไทยและท้องถิ่น

ด้านการบริการวิชาการ

ให้บริการวิชาการแก่สังคม

ด้านการวิจัย

            พัฒนาศักยภาพอาจารย์และนักศึกษาด้านการวิจัยผลงานวิชาการ และนำงานวิจัยบูรณาการด้านการจัดการเรียนการสอน

ทุนการศึกษา

– ทุนมหาวิทยาลัยประเภทเรียนด่ี
– ทุนยืมฉุกเฉินกรณีนักศึกษามีเหตุฉุกเฉินต้องการกู้ยิืม
– กองทุนให้กู้ยืมทางการศึกษา (กยศ.) ทั้งรายเก่า และรายใหม่
– ทุนประจำปีจากองค์กร มูลนิธิ กองทุน หรือบุคคลให้โดยไม่มีข้อผูกพัน

การจัดการเรียนการสอน

– ภาคปกติ เรียนวันจันทร์ – ศุกร์ ณ มหาวิทยาลับราชภัฏเลย จังหวัดเลย
– เรียนในสถานประกอบการจริง เทอม 2 ชั้น ปี2
– เรียนในสถานประกอบการจริง เทอม 2 ชั้น ปี3
– เรียนในสถานประกอบการจริง เทอมที่ 1 และเทอม 2 ชั้น ปี 4

แนวทางอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา

          ผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ดิจิทัล สามารถประกอบอาชีพในวิชาชีพนิเทศศาสตร์ได้หลากหลาย ได้แก่
1. ด้านภาพนิ่ง เช่น ผู้สื่อข่าว ช่างภาพ บรรณาธิการ นักวิจารณ์ นักเขียน นักออกแบบ นักวางแผนรณรงค์
     นักประชาสัมพันธ์

2. ด้านเสียงและภาพเคลื่อนไหว เช่น ผู้ประกาศข่าวและรายการ พิธีกร ช่างภาพ ผู้กำกับ นักตัดต่อภาพ ผู้ควบคุม 
     เสียงและเทคนิค ผู้ควบคุมรายการ ผู้ผลิตรายการ นักแสดง นักจัดรายการ

3. ด้านสื่อปฏิสัมพันธ์และสื่อดิจิทัลมีเดีย เช่น นักออกแบบและจัดองค์ประกอบเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น (UI / UX or
     Digital Designer) นักออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ นักสร้างสรรค์ข้อมูล (Content Creator) นักสร้างสรรค์สื่อ นัก
     สร้างสรรค์ผลงานรูปแบบคลิปวีดิโอส่งผ่านช่องยูทูบ (Youtuber) นักสร้างเว็บไซต์เฉพาะด้าน (Website Blogger)
     นักข่าวออนไลน์ (Online Reporter) พิธีกรรีวิวสินค้า (Reviewer) นักประชาสัมพันธ์บนแฟนเพจเฟซบุ๊ก (Fan page
     Facebook PR)
ที่ปรึกษางานประชาสัมพันธ์ (PR Consultant) นักออกแบบผลิตภัณฑ์ชุมชน นักรีวิวสินค้าท้องถิ่น
     ผ่านแพลตฟอร์มวิดีโอ (Vloger for Community) นักโปรโมทสินค้าชุมชน

4. ธุรกิจส่วนตัว เช่น ตัวแทนผลิตสื่อ (Agency) ผู้จัดการงานกิจกรรมต่าง ๆ (Organizer) ธุรกิจสื่อออนไลน์
     ธุรกิจบันเทิง และงานพิเศษ (Freelance)

5. ครูและอาจารย์ในสถาบันการศึกษา
6. นักวิชาการ
7 .เจ้าหน้าที่สายงานที่เกี่ยวข้องกับนิเทศศาสตร์